ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดภาคกลาง

 

ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดภาคกลางวิระศักดิ์ ฮาดดา. (2553). รูปแบบการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. หน้าที่ 1-11.


บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) การมีส่วนร่วม ของประชาชนตามหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมกับดัชนีชี้วัด (4) ปัจจัยการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่ มีผลต่อผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดภาคกลาง และ (5) เพื่อเสนอรูปแบบผลสัมฤทธิ์ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลางกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลางในปีการศึกษา 2552 จาก องค์การบริหารส่วนตำบล 333 แห่ง จำนวน 497 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สมการถดถอยพหุคูณแบบ ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการ การมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลางในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความ สัมพันธ์ระหว่างดัชนีชี้วัดกับปัจจัยการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 5 ประการ พบว่า ดัชนีชี้วัดที่มีความสัมพันธ์มาก ของแต่ละปัจจัยตามลำดับดังนี้ ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของ อบต. ผ่านสื่อต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา/ความต้องการผ่านช่องทางต่างๆที่ อบต.จัดขึ้นมีส่วนร่วมจัดทำแผนดำเนินการของอบต.ร่วมเป็นตัวแทนภาคประชาชนในการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และติดตาม ตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของ องค์การบริหารส่วนตำบล (4) ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ การมีที่ปรึกษามาจากภาคประชาชน และรูปแบบที่นำเสนอ มีความเหมาะสมต่อการดำเนินงานการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ภาคกลาง คำสำคัญ: การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม, องค์การบริหารส่วนตำบล       

 


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม